เรื่อง สิทธิผู้บริโภค

ความหมายของการบริโภคและผู้โภค
ผู้บริโภคหมายถึง ผู้ซื้อหรือผู้ได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจ หรือผู้ซึ่งได้รับการเสนอ หรือการชักชวน จากผู้ประกอบธุรกิจ เพื่อให้ซื้อสินค้าหรือรับ บริการ และหมายความรวมถึงผู้ใช้สินค้า หรือผู้ได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจโดยชอบ แม้มิได้เป็นผู้เสียค่าตอบแทนก็ตาม
สถานการณ์ปัญหาของผู้บริโภค

ผู้บริโภคต้องมีความรอบคอบฉลาดในการตรวจสอบแสดงสินค้า คุณภาพปริมาณ และราคาว่ายุติธรรม สมควรซื้อมาบริโภคหรือไม่ อาจสำรวจสินค้าชนิดเดียวกันจากหลายๆร้าน โดยไม่เชื่อข้อความโฆษณาทันที แต่ต้องหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินค้า ว่าจริงตามที่โฆษณาไว้หรือไม่
- สิทธิจะได้รับข่าวสารรวมทั้งคำพรรณนา คุณภาพที่ถูกต้องเพียงพอกับสินคและบริการ
- สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกซื้อสินค้าและบริการ
- สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมทางสัญญา
- สิทธิที่จะได้รับความพิจารณา และชดเชยความเสียหาย
สิทธิผู้บริโภคสากล ถูกกำหนดขึ้นโดยสหพันธุ์ผู้บริโภคซึ่งเป็นองค์กรอิสระ ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2503 ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์มี 8 ประการดังนี้
- สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัย
- สิทธิที่จะได้รับข้อมูลข่าวสาร
- สิทธิที่จะได้รับเครื่องมืออุปโภคบริโภคในราคายุติธรรม
- สิทธิที่จะร้องเรียนเพื่อความเป็นธรรม
- สิทธิที่จะได้รับค่าชดเชยความเสียหาย
- สิทธิที่จะได้รับความจำขั้นพื้นฐาน
- สิทธิที่จะได้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่สะอาด
แนวทางการเลือกบริโภคอย่างฉลาดและปลอดภัย
1.ก่อนจะเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ สินค้า และบริการสุขภาพ ผู้บริโภคต้องสามารถแยกความต้องการของตัวเองได้ ว่าเป็นความต้องการแท้ อะไรเป็นความต้องการเทียม แล้วพิจารณาในการเลือกซื้อให้ดีเพื่อให้เกิดความคุ้มค่าและใช้ชีวิตอย่างพอเพียง

3.ในการซื้อผลิตภัณฑ์ สินค้าหรือบริการสุขภาพจะต้องมีความระเอียดในความพิจารณาถึงประโยชน์ที่ตนเองจะได้รับจากสินค้าและบริการให้ดีเสียก่อนที่จะตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าและบริการนั้นๆ อย่าให้เสียเปรียบผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการ
4.ถ้าพบว่ามีผลิตภัณฑ์ สินค้าหรือบริการสุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐาน ควรแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบทันที่ เพื่อจะได้ดำเนินการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค
5.เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ สินค้าและบริการที่สุขภาพได้มาตรฐาน หรือมีการรับรองคุณภาพกล่าว คือ มีเครื่องหมาย มอก. หรือมี อย. เป็นต้น
6.ถ้าได้รับความไม่เป็นธรรม ถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบการให้ร้องเรียนได้ที่หน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภค
การปฏิบัติตนตามสิทธิผู้บริโภค
ผู้บริโภคควรคำนึงถึงบทบาท หรือหน้าที่ในการปฏิบัติตนตามสิทธิผู้บริโภคที่พึงกระทำด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ผู้บริโภคจะได้มีส่วนได้รับผิดชอบในการคุ้มครองสิทธิของตนเอง โดยมีการปฏิบัติดังนี้
1.การรวมกลุ่มหรือการรวมตัวกันเพื่อรักษาผลประโยชน์ของตนเองเมื่อได้รับความเดือดร้อนหรือถูกเอารัดเอาเปรียบ หรือประสบปัญหาจากการบริโภค จึงทำไห้ผู้บริโภครวมตัวกันก่อไห้เกิดพลังของผู้บริโภคขึ้นในการเคลื่อนไหวหรือต่อรอง ซึ้งพลังของผู้บริโภคนี้จะทำให้ผู้บริโภคตื่นตัวในการใช้สิทธิและการรักษาผลประโยชน์ที่ตนเองจะได้รับ
2.ศึกษาหาความรู้จากอินเตอร์เน็ต วิทยุ โทรทัศน์ วารสารหรือหนังสืออื่นๆ เกี่ยวกับสิทธิของผู้บริโภคเพื่อให้มีความรู้และความรอบคอบในการพิจารณาเลือกซื้อสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ
3.มีส่วนในการเผยแพร่ความรู้และรับรู้ข้อมูลข่าวสารด้านการคุ้มครองผู้บริโภคสามารถทำได้หลายรู้แบบ เช่น การพูดคุย การชี้แจง ประชาสัมพันธ์ การใช้เสียงตามสายหอกระจายข่าว ประชาชนผู้บริโภคหรือเด็กนักเรียน เยาวชนผู้บริโภคทุกคนมีส่วนร่วมในการเผยแพร่ความรู้ได้ในการจัดกิจกรรมเพื่อให้ความรู้ เลือกซื้อสินค้าและบริการอย่าปรอดภัย เป็นธรรมและประหยัด เช่น กิจกรรม อย.น้อย เป็นกิจกรรมที่ทำไห้นักเรียนเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงและช่วยเหลือผู้อื่น เช่น เพื่อน ครอบครัว ชุมชน ด้วยการไห้ความรู้ทางด้านบริโภคอย่างเหมาะสม
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค
1.สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานนายกรัฐมนตรี มีอำนาจหน้าที่รับแของผู้บริโภค ที่ไห้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายอันเนื่องมาจากผู้ประกอบการธุรกิจ สอดส่องพฤติการณ์ และดำเนินคดีต่อผู้ประกอบการธุรกิจที่ละเมิดสิทธิผู้บริโภค แจ้งหรือโฆษณาข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับสิทธิผู้บริโภคไห้ผู้บริโภค
2.สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุขมีหน้าที่กำกับดูแลการผลิต การจำหน่ายและโฆษณาต่างๆ ได้แก่ อาหาร เครื่องสำอาง วัตถุอันตราย ยา เรื่องมือแพทย์ และวัตถุเสพติดไห้โทษ ไห้เป็นไปตากฎหมาย
3.กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข โดยกองโภชนาการมีหน้าที่จัดทำเกณฑ์มาตรฐานด้านโภชนาการและไห้คำปรึกษาแนะนำวิชาการด้านโภชนาการ
4.กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์มีหน้าที่ควบคุมสินค้าไห้เป็นไปตามกฎหมายกำหนดและไม่ไห้ผู้บริโภคเสียเปรียบ
5.กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ มีหน้าที่ควบคุมปริมาณ การชั่ง ตวง และวัดสินค้า
6.กรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย มีหน้าที่เกี่ยวกับการทำสัญญาซื้อขายที่ดิน
7.สำนักงานมาตรฐานการผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม มีหน้าที่กำหนดและติดตามตรวดสอบมาตรฐานสินค้าอุตสาหกรรม
8.กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีหน้าที่ควบคุมวัตถุมีพิษทางการเกษตร
9.คณะอนุกรมการคุมครองผู้บริโภคประจำจังหวัด มีหน้าที่รับเรื่องราวร้องทุกข์หรือร้องเรียนจากผู้บริโภค
ถ้าผู้บริโภคได้รับความไม่เป็นธรรม ได้รับความเดือดร้อนเสียหาย อันเนื่องมาจากการกระทำของผู้ประกอบการ ผู้บริโภคสามารถไปแจ้งตามหน่วยงานต่างๆ ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคเรื่องนั้นๆทั้งนี้ เพื่อเป็นการรักษาสิทธิของตนที่พึงมีตามกฎหมาย
สิทธิผู้บริโภค
ที่มา:https://sites.google.com/site/sukhsuksam4/home/bth-thi-5-siththi-phu-briphokh
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น