วันจันทร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บทที่ 1 ระบบอวัยวะของร่างกาย

บทที่ 1 ระบบอวัยวะของร่างกาย

การทำงานระบบใหญ่ๆ 3 ระบบ
1.ระบบผิวหนัง
ระบบผิวหนังเป็นระบบที่ห่อหุ้มร่างกาย  เซลล์ชั้นบนมีการเปลี่ยนแปลงมี่สำคัญ คือ มีเคอราทิน(keratin) ใสและหนา มีความสำคัญคือ ป้องกันน้ำเข้าสู่ร่างกาย การเปลี่ยนที่ทำให้เกิด เคอราทิน เรียกว่า เคอราทีทีไนเซซัน (keratinization)
 
                      ส่วนประกอบของชั้นผิวหนัง


ผิวหนังประกอบด้วย 2 ส่วน คือส่วนที่อยู่บนพื้นผิว  เรียกว่า หนังกำพร้า (epidermis)
ส่วนที่ลึกไป เรียกว่าหนังแท้


1.หนังกำพร้า (epidermis) เป็นผิวบนสุด ที่ประกอบด้วยเซลล์บางๆ ตรงพื้นผิวไม่มีนิวเคลียส เป็นส่วนที่หลุดลอกเป็นขี้ไคล แล้วสร้างเซลล์ใหม่ขึ้นมาแทนอยู่เสมอ ส่วนต่างที่เกิดจากหนังกำพร้า ได้แก่ เล็บมือ เล็บเท้า รูขุมขนในชั้นหนังแท้ ส่วนเซลล์ชั้นในสุดที่ทำหน้าผลิตสีผิว(melanin) เรียกว่า สเตรตัมเจอร์มินาทิวัม   (stratum germinativum)
2.(dermis) หนังแท้อยู่ใต้หนังกำพร้า หนาประมาณ 1-2 มิลิเมตร ประกอบด้วยเยื่อเกี่ยวพัน 2 ชั้น คือ
2.1 ชั้นบนหรือชั้นตื้น (papillary layer) เป็นที่นูนมาแทรกหนังกำพร้า เรียกว่า เพ็บพิลลารี (papillary) มีหลอดเลือด และปลายเส้นประสาทฝอย
2.2 ชั้นล่างหรือชั้นลึกลงไป (reticular layer) มีไขมันอยู่ มีรากผมหรือขนและต่อมไขมัน(sebaceous glands)

ความสำคัญของของระบบผิวหนัง
1.เป็นส่วนที่ห่อหุ้มร่างกาย สำหรับป้องกันอันตรายต่างๆ หรืออาจเกิดขึ้นกับอวัยวะใต้ผิวหนัง
2.เป็นอวัยวะรับสัมผัสความรู้สึกต่างๆ เช่น ร้อน หนาว
3.เป็นอวัยวะขับถ่ายของเสีย เช่น เหงื่อ
4.เป็นอวัยวะที่ช่วยขับสิ่งต่างๆที่อยู่ใต้ต่อมผิวหนังให้เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น ขับไขมันไปหล่อเลี้ยงเส้นขนหรือผมให้เงางาม
5.ช่วยเป็นส่วนป้องกันรังสีต่างๆไม่ให้เป็นอันตรายต่อร่างกาย
6.ช่วยควบคุมความร้อนในร่างกายให้อยู่คงที่อยู่เสมอ ร่างกายคนเราขณะปกติมีอุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส หรือถ้าอากาศอบอ้าวร้อนเกินไปก็จะระบายความร้อนออกทางรูขุมขน

การสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบผิวหนัง
                      ผิวหนังเป็นอวัยวะภายนอกที่ห่อหุ้มร่างกาย ช่วยส่งเสริมบุคลิกภาพของบุคลและบ่งบอกการมีสุขภพที่ดีและไม่ดีของแต่ละคนด้วย เช่นคนที่มีสุขภาพที่ดีผิวหนัง หรือผิวพรรณจะเต่งตึง สดใสแข็งแรง เป็นต้น ดังนั้นจึงจำเป็นต้องสร้างเสริมและดูแลผิวหนังให้มีสภาพที่สมบูรณ์ มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ ดังนี้
1.อาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาดด้วยสบู่อย่างน้อยวัยละ 1-2 ครั้ง
2.ทาครีมบำรุงผิวที่มีคุณภาพและเหมาะสมกับผิวของตนเอง
3.ทาครีมกันแดดก่อนออกจากบ้านเมื่อต้องไปเผชิญกับแดดร้อนจัด
4.สวมเสื้อผ้าที่สะอาดพอดีตัว ไม่คับหรือหลวมเกินไป และเหมาะสมกันสภาพอากาศ
5.รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่และเพียงพอต่อความต้องการโดยเฉพาะผักและผลไม้
6.ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว โดยน้ำจะช่วยให้ผิวพรรณสดชื่นแจ่มใส
7.ออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง
8.นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 8 ชั่งโมง
9.ดูแลผิวหนังอย่าให้เป็นแผล ถ้ามีควรรีบรักษาเพื่อไม่ให้เกิดแผลเรื้อรัง


 ระบบโครงกระดูก
ระบบโครงกระดูกมีหน้าที่ค้ำจุนร่างกายให้อยู่คงรูปร่างอยู่ได้  กระดูกของมนุษย์ทั้งร่างกายมีอยู่ทั้งสิ้น 206 ชิ้น
แบ่งเป็น  ประเภทคือ
1.กระดูกแกน (Axial Skeleton) เป็นกระดูกที่เป็นแกนกลางของร่างกาย ทำหน้าที่ค้ำจุนและป้องกันอันตรายให้แก่อวัยวะสำคัญภายในร่างกาย มีจำนวนทั้งสิ้น 80 ชิ้น ประกอบด้วย
          1.กะโหลกศรีษะ (Skull) มีจำนวน 29 ชิ้น
2.กระดูกสันหลัง (Vertebrae) มีจำนวน 26 ชิ้น
3.กระดูกซี่โครง (Ribs) มีจำนวนทั้งหมด 24 ชิ้น
4.กระดูกอก (Sternum) มีจำนวนทั้งหมด 1 ชิ้น
 2.กระดูกรยางค์ (Appendicular Skeleton) เป็นกระดูกที่เชื่อมต่อกับกระดูกแกน ทำหน้าที่ค้ำจุนและเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของร่างกาย มีจำนวนทั้งสิ้น 126 ชิ้น ประกอบด้วย
          1.กระดูกแขน มีจำนวน 64 ชิ้น (ข้างละ 32 ชิ้น)
          2.กระดูกขา มีจำนวน 62 ชิ้น (ข้างละ 31 ชิ้น)
เมื่อศึกษาถึงโครงสร้างของกระดูกพบว่า กระดูกของมนุษย์แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
          1.กระดูกอ่อน (Caitilage) เป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันซึ่งประกอบด้วยเซลล์กระดูกอ่อน(Chondrocyte)สารระหว่างเซลล์ และเส้นใยชนิดต่างๆ โดยทั่งไปกระดูกอ่อนแทรกซึมสารระหว่างเซลล์มา เนื่องจากไม่มีหลอดเลือดฝอยมาหล่อเลี้ยงกระดูกอ่อน
          2.กระดูก (Bone) เป็นโครงสร้างที่เจริญมาจากเนื้อเยื่อเกี่ยวพันหรือกระดูกอ่อนก็ได้ ประกอบด้วยเซลล์กระดูก เส้นใยชนิดต่างๆและสารระหว่างเซลล์ ซึ่งมีผลึกไฮดรอกซีอะพาไทต์ มาเสริมทำให้กระดูกกระดูกมีความแข็งแรงมากกว่ากระดูกอ่อน
โครงกระดูกของมนุษย์จะเชื่อมกันด้วยข้อต่อซึ่งจะทำให้ร่างกายของมนุษย์เคลื่อนไหวได้หลายทิศทาง จากการศึกษาพบว่า ข้อต่อที่เชื่อมต่อกระดูกแต่ละชิ้นในร่างกายมนุษย์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
          1.ข้อต่อที่เคลื่อนไหวไม่ได้ (Immovable Joint) เป็นข้อต่อที่ทำหน้าที่ยึดกระดูกเอาไว้ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เลย เช่น ข้อต่อกระดูกศีรษะ เรียกว่า ซูเจอร์ (Suture) เป็นต้น
ข้อต่อที่เคลื่อนไหวไม่ได้
2.ข้อต่อที่เคลื่อนไหวได้ (Movable Joint)เป็นข้อต่อที่เชื่อมต่อกระดูกแล้วทำให้เคลื่อนไหวได้ซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบ เช่น ข้อต่อที่กระดูกนิ้วมือ นิ้วเท้า เป็นต้น

ข้อต่อกระดูกที่เคลื่อนไหวได้

ความสำคัญของระบบโครงกระดูก
1.ประกอบเป็นโครงร่างส่วนที่แข็งของร่างกาย
2.เป็นที่รองรับอวัยวะต่างๆของร่างกาย
3.เป็นที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อทำให้มีการเคลื่อนไหวได้
4.เป็นที่สร้างเม็ดเลือด
5.เป็นที่เก็บและจ่ายแคลเซียม ฟอสเฟต และแมกนีเซียม
6.ป้องกันอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ปอด หัวใจ ตับ สมอง และประสาท

การสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบโครงกระดูก
1.รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่โดยเฉพาะอาหารที่มีแคลเซียมและวิตามินดี เช่น เนื้อสัตว์ นม และผลไม้ต่างๆ
2.ออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรง

ระบบกล้ามเนื้อ

ระบบกล้ามเนื้อ (Muscular System)จะทำงานร่วมกับระบบโครงกระดูกเพื่อให้ร่างกายสามารถเคลื่อนไหวได้ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นโครงร่างของร่างกายอีกด้วย ประกอบด้วย
1.กล้ามเนื้อลาย (Striated Muscle or Cross-Strjated Muscle)มีลายตามขวางตลอดความยาว เกาะติดกับโครงกระดูกหรือกระดูกช่วยทำให้เป็นรูปร่างของร่างกายและอยู่ภายใต้อำนาจจิตใจ กล้ามเนื้อลายนับว่าเป็นกล้ามเนื้อที่ใช้ในการเคลื่อนไหวของร่างกายทั้งหมด เช่น กล้ามเนื้อแขน กล้ามเนื้อขา กล้ามเนื้อทรวงอก เป็นต้น และเป็นกล้ามเนื้อที่แข็งแรงที่สุด ลักษณะในการทำงานของกล้ามเนื้อลายคือดึงรั้งกระดูกให้มีการเคลื่อนไหวตามที่ใจต้องการ 
กล้ามเนื้อลาย
2.กล้ามเนื้อเรียบ (Smooth Muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่มีลักษณะเรียบ ไม่มีลาย และไม่อยู่ในอำนาจจิตใจเป็นส่วนประกอบของอวัยวะภายในร่างกาย เช่น กล้ามเนื้อที่หลอดลมปอด กล้ามเนื้อในกระเพาะอาหาร ลำไส้ และมดลูก เป็นต้น
   กล้ามเนื้อเรียบ
3.กล้ามเนื้อหัวใจ (Cardiac Muscle)กล้ามเนื้อหัวใจจะพบที่บริเวณหัวใจและผนังเส้นเลือดเข้าสู่หัวใจเท่านั้น เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจมีลักษณะคล้ายกับกล้ามเนื้อลายคือ มีการเรียงตัวให้เป็นลายเมื่อส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์ กล้ามเนื้อหัวใจมีลักษณะแตกกิ่งก้านและสานกัน มีรอยต่อและช่อง ระหว่างเซลล์ซึ่งบริเวณที่มีความต้านทานไฟฟ้าต่ำทำให้เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจสามารถส่งกระแสไฟฟ้าผ่านจากเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่งได้
                           กล้ามเนื้อหัวใจ

ความสำคัญของระบบกล้ามเนื้อ
1.ช่วยให้ร่างกายสามารถเคลื่อนไหวได้จากการทำงาน ซึ่งในการเคลื่อนไหวของร่างกายนี้ ต้องอาศัยการทำงานของระบบโครงกระดูกและข้อต่อต่างๆด้วย โดยอาศัยการยึดและหดตัวของกล้ามเนื้อ
2.ช่วยให้อวัยวะภายในต่างๆเช่นหัวใจ ปอด กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ หลอดเลือด ทำงานได้ตามปกติและมีประสิทธิภาพ เนื่องจากการบีบตัวของกล้ามเนื้ออวัยวะดังกล่าว
3.ผลิตความร้อนให้ความอบอุ่นร่างกาย ซึ่งความร้อนนี้เกิดจากการหดตัวของกล้ามเนื้อแล้วเกิดปฏิกิริยาทางเคมี
4.ช่วยป้องกันอวัยวะภายในไม่ให้ได่รับความกระทบกระเทือน
5.เป็นที่เกิดพลังงานของร่างกาย

การสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบกล้ามเนื้อ

1.รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่และมีปริมาณที่เพียงพอต่อต่อความต้องการของร่างกาย
2.ออกกำลังสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน วันละอย่างน้อย 30 นาที โดยเน้นรูปแบบการบริหารกล้ามเนื้อส่วนต่างๆเป็นต้น
3.ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใส ดูแลสุขภาพจิตของตนเองให้ดี
4.ควรมีเวลาพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ทำงานหนักหรือหักโหมจนเกินไป โดยเฉพาะลักษณะงานที่ต้องทำงานอยู่ท่าเดิมนานๆจะทำให้กล้ามเนื้อบริเวณนั้นอ่อนล้าและเกิดความไม่แข็งแรงได้
5.เมื่อเกิดความผิดปกติเกี่ยวกับระบบกล้ามเนื้อ เช่น มีอาการปวดหลังเรื้อรัง ควรรีบไปพบแพทย์


ระบบอวัยวะในร่างกาย




ที่มา: https://sites.google.com/site/sukhsuksam4/home/bth-thi-1-rabb-xwaywa-khxng-rangkay

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น